เป้าหมาย
จาก มติชนสุดสัปดาห์ คอลัมน์ "ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ" หนุ่มเมืองจันท์
พ่อแนะนำให้อ่าน อ่านแล้วชอบมากเลยครับ
แวบไปงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติที่ศูนย์สิริกิต์ 2 วันแล้วครับ
ตอนแรกใครๆ ก็หวั่นวิตกว่างานหนังสือครั้งนี้จะมีคนไปน้อย เพราะภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มกระตุก
แต่ปรากฏว่าปีนี้คนไปร่วมงานเยอะมาก
ถามหลายสำนักพิมพ์ แต่ละคนบอกว่ายอดขายเพิ่มสูงขึ้น
คงเป็นไปตามที่ผู้บริหารตระกูลจิราธิวัฒน์คนหนึ่งบอกไว้ว่าทุกครั้งที่เศรษฐกิจซบเซาหนังสือจะขายดี เพราะเป็นสินค้าบันเทิงราคาถูก
2 วันที่ไปเซ็นชื่อตามคิวที่น้องๆ จัดให้ บอกได้คำเดียวว่าอบอุ่นครับ
บางคนพอยื่นหนังสือมา สบตาก็รู้แล้วว่าอยากคุยด้วย
แต่เห็นคิวคนที่รออยู่ข้างหลังแล้วก็ได้แต่ทักทาย 2-3 คำ พอเซ็นชื่อเสร็จก็ต้องจบการสนทนา
ขออนุญาตขอโทษผ่านทางคอลัมน์ี้ด้วย
มีอยู่คนหนึ่ง ยื่นหนังสือให้แล้วบอกว่า "พี่เป็นแรงบันดาลใจของผม"
"ทำไมล่ะครับ" ผมถาม
"ตอนที่ผมตกงาน ผมอ่านเรื่องที่พี่เขียนแล้วมีกำลังใจมากเลย"
เฮ้อ ถ้าเป็นผู้หญิงก็จะโผกอดแล้ว แต่บังเอิญเป็นผู้ชายก็เลยต้องเก็บความปลาบปลื้มไว้ในใจ
"แล้วตอนนี้ได้งานหรือยังครับ" เป็นประโยคกลบเกลื่อนความปลาบปลื้ม
"ได้แล้วครับ"
"มันสำคัญตรงนี้"
กลัวได้แต่แรงบันดาลใจ แต่ไม่ได้งาน
ผมหัวเราะก่อนส่งหนังสือที่เซ็นชื่อแล้วส่งคืนให้
จริงๆ แล้วอยากขอบคุณมากกว่านี้แต่มันเขิน
น้องอีกคนหนึ่งยื่นหนังสือให้ผมเซ็นหลังจากดำเนินการเสวนา "ต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้" กับคุณบัณฑิต อึ้งรังษี เสร็จสิ้นลง
เธอเป็นนักเรียนชั้น ม.5 จากนครศรีธรรมราช มากับคุณพ่อ
นอกจากเซ็นหนังสือแล้วเธอยังให้คุณพ่อถ่ายรูปคู่กับผมอีกด้วย
ก่อนจะเดินจากไป เจ้าเด็กน้อยหันกลับมาบอกผมด้วยเสียงชื่นชม
"หนูชอบ...มากเลยค่ะ"
เสียงเธอชื่นชมอย่างจริงใจ แต่ผมอึ้งไปนิดกับคำในช่องว่าง
"เอ่ออะไรนะ" ผมถามซ้ำเผื่อน้องจะพูดผิด
ไม่ผิดครับ เหมือนเดิมเลย แถมเสียงดังขึ้นกว่าเดิมด้วย
"หนูชอบคุณลุงมากเลยค่ะ"
พอหมดคิวเซ็นชื่อในวันแรก ผมก็วนเวียนอยู่ในบู๊ธสำนักพิมพ์มติชน
มีแฟนหนังสือคนหนึ่งเดนมายื่นหนังสือให้เซ็น
ช่วงนั้นว่างแล้วผมก็เลยยืนคุยนานพอสมควร
เขาเป็นครูสอนศิลปะ อยู่โรงเรียนสามเสน 2 ครับ
"ผมเอาเรื่องของพี่ไปอ่านให้เด็กนักเรียนฟังเป็นประจำเลย"
"แล้วนักเรียนจะรู้เรื่องเหรอ" ผมไม่มั่นใจ
"นักเรียนชอบมากเลยครับ ทุกครั้งที่ได้ฟังตาเขาจะเป็นประกายเลย"
สงสัยจะเป็นประกายเพราะไม่ต้องเรียน...ผมคิดในใจ
"แปลกดี สอนศิลปะแต่ทำไมชอบนำเรื่องแบบนี้ไปเล่าให้นักเรียนฟัง"
เขาบอกว่าส่วนใหญ่ครูทั่วไปมักจะสอนเนื้อหาในตำรา และเด็กแต่ละคนก็เรียนกวดวิชากันมากมายเพื่อการสอบแข่งขัน แต่เขาต้องการให้เด็กได้มุมมองที่หลากหลายได้รู้จักโลกกว้าง
"ครูคนอื่นสอนหนังสือ แต่ผมสอนนักเรียนครับ"
โหย...เจอประโยคนี้เข้าแทบก้มหัวคารวะเลย
"เป้าหมาย" ที่แตกต่าง จะนำมาซึ่ง "วิธี" ที่แตกต่าง
บางคนพยายามสอนแต่เนื้อหาในหนังสือเพราะมีเป้าหมายคือการสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนดีๆ หรือมหาวิทยาลัยดังๆ
"เป้าหมาย" ของเขาคือตัวอักษรในหนังสือ
ทำอย่างไรจะอัดเข้าสมองนักเรียนให้มากที่สุด
แต่ที่เขาลืมไปก็คือการสอนนักเรียนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ
มีมุมมองที่หลากหลาย รู้จักโลกในหลายแง่มุม
ผมนึกถึงคำของ "หมอประเวศ วะสี" ที่พูดถึงหมอด้วยกันว่า หมอส่วนใหญ่มักจะรักษา "โรค"
แต่ไม่ได้รักษา "คนไข้"
ลืมความรู้ึกของคนไข้ว่าเขากลัว เขาเจ็บ เขารู้สึกอย่างไร
คิดอย่างเดียวว่าจะรักษา "โรค" ให้หาย
จนลืมไปว่า "คนไข้" เป็น "คน" ที่มีความรู้สึก
"นักเรียน" ก็เหมือน "คนไข้"
มีชีวิต และความรู้สึก
มีโลกที่กว้างใหญ่กว่าประตูรั้วมหาวิทยาลัยดังๆ
หลังจากนั้นไม่กี่วันผมก็ได้คุยกับ "บินหลา สันกาลาคีรี" นักเขียนซีไรท์
เขาเพิ่งกลับจากรัสเซียมาครับ
"บินหลา" ใช้เวลา 1 เดือนนั่งรถไฟจากจีนไปรัสเซีย
อย่าแปลกใจที่ "บินหลา" จะใช้เวลานานกว่าคนทั่วไป
เขาเป็น "คนใจง่าย" ครับ เจอเมืองไหนน่ารักก็แวะพักนานหน่อย เช่น ผ่านมองโกเลียแล้วชอบใจก็แวะเที่ยว 8 วัน เป็นต้น
ช่างเป็นชีวิตที่น่าอิจฉาจริงๆ
ผมเล่าเรื่องครูคนนี้ให้ "บินหลา" ฟัง เขาพยักหน้าเห็นด้วย
"บินหลา" บอกว่าเคยมีคนถามเขาว่าการไปเที่ยวคนเดียวมีข้อดีอย่างไร
เขาตอบว่าการไปเที่ยวคนเดียว สิ่งที่ได้แน่ๆ ก็คือได้ตัดสินใจเอง
"คุณจะได้ตัดสินใจแทบทุกช่วงเวลาของการเดินทาง"
ครับ การไปเที่ยวคนเดียว ต้องเผชิญกับสถานการณ์แปลกๆ ที่เราคาดการณ์ไม่ได้ในสถานที่ที่เราไม่คุ้นเคย
แทบทุกช่วงเวลา คุณจะต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง
ไม่ว่าผิดหรือถูก คุณก็ต้องรับผิดชอบกับ สิ่งที่คุณตัดสินใจไป
ในโลกแห่งความเป็นจริง การตัดสินใจหรือการใช้ดุลพินิจของตัวเองว่าจะเลือกเดินทางไหนเป็นเรื่องสำคัญมาก
ชีวิตไม่ใช่ข้อสอบปรนัย ที่มีคนกำหนดทางเลือก ก-ข-ค-ง ให้กากบาท
และไม่มีครูคอยเฉลยข้อสอบด้วยว่าสิ่งที่คุณเลือกถูกหรือผิด
ที่สำคัญ ชีวิตผ่านแล้วผ่านเลย
เลือกแล้วเลือกเลย
จะขอหมุนเวลากลับมาแก้ไขใหม่ไม่ได้
"ดุลพินิจ" และ "การตัดสินใจ" จึงเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับชีวิต
คนเก่ง คือ คนที่ตัดสินใจถูกมากกว่าผิด
ต้องทำบ่อยๆ ทำเป็นประจำ และรู้จักสรุปบทเรียนทุกครั้งที่ตัดสินใจ
เพื่อให้การเลือกครั้งต่อไปไม่ผิดพลาด
ที่สำคัญการตัดสินใจที่ดีจะต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง
ห้ามเลือกแบบคนเจ้าชู้
ข้อ จ.
... ถูกทุกข้อ
ตอนแรกใครๆ ก็หวั่นวิตกว่างานหนังสือครั้งนี้จะมีคนไปน้อย เพราะภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มกระตุก
แต่ปรากฏว่าปีนี้คนไปร่วมงานเยอะมาก
ถามหลายสำนักพิมพ์ แต่ละคนบอกว่ายอดขายเพิ่มสูงขึ้น
คงเป็นไปตามที่ผู้บริหารตระกูลจิราธิวัฒน์คนหนึ่งบอกไว้ว่าทุกครั้งที่เศรษฐกิจซบเซาหนังสือจะขายดี เพราะเป็นสินค้าบันเทิงราคาถูก
2 วันที่ไปเซ็นชื่อตามคิวที่น้องๆ จัดให้ บอกได้คำเดียวว่าอบอุ่นครับ
บางคนพอยื่นหนังสือมา สบตาก็รู้แล้วว่าอยากคุยด้วย
แต่เห็นคิวคนที่รออยู่ข้างหลังแล้วก็ได้แต่ทักทาย 2-3 คำ พอเซ็นชื่อเสร็จก็ต้องจบการสนทนา
ขออนุญาตขอโทษผ่านทางคอลัมน์ี้ด้วย
มีอยู่คนหนึ่ง ยื่นหนังสือให้แล้วบอกว่า "พี่เป็นแรงบันดาลใจของผม"
"ทำไมล่ะครับ" ผมถาม
"ตอนที่ผมตกงาน ผมอ่านเรื่องที่พี่เขียนแล้วมีกำลังใจมากเลย"
เฮ้อ ถ้าเป็นผู้หญิงก็จะโผกอดแล้ว แต่บังเอิญเป็นผู้ชายก็เลยต้องเก็บความปลาบปลื้มไว้ในใจ
"แล้วตอนนี้ได้งานหรือยังครับ" เป็นประโยคกลบเกลื่อนความปลาบปลื้ม
"ได้แล้วครับ"
"มันสำคัญตรงนี้"
กลัวได้แต่แรงบันดาลใจ แต่ไม่ได้งาน
ผมหัวเราะก่อนส่งหนังสือที่เซ็นชื่อแล้วส่งคืนให้
จริงๆ แล้วอยากขอบคุณมากกว่านี้แต่มันเขิน
น้องอีกคนหนึ่งยื่นหนังสือให้ผมเซ็นหลังจากดำเนินการเสวนา "ต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้" กับคุณบัณฑิต อึ้งรังษี เสร็จสิ้นลง
เธอเป็นนักเรียนชั้น ม.5 จากนครศรีธรรมราช มากับคุณพ่อ
นอกจากเซ็นหนังสือแล้วเธอยังให้คุณพ่อถ่ายรูปคู่กับผมอีกด้วย
ก่อนจะเดินจากไป เจ้าเด็กน้อยหันกลับมาบอกผมด้วยเสียงชื่นชม
"หนูชอบ...มากเลยค่ะ"
เสียงเธอชื่นชมอย่างจริงใจ แต่ผมอึ้งไปนิดกับคำในช่องว่าง
"เอ่ออะไรนะ" ผมถามซ้ำเผื่อน้องจะพูดผิด
ไม่ผิดครับ เหมือนเดิมเลย แถมเสียงดังขึ้นกว่าเดิมด้วย
"หนูชอบคุณลุงมากเลยค่ะ"
พอหมดคิวเซ็นชื่อในวันแรก ผมก็วนเวียนอยู่ในบู๊ธสำนักพิมพ์มติชน
มีแฟนหนังสือคนหนึ่งเดนมายื่นหนังสือให้เซ็น
ช่วงนั้นว่างแล้วผมก็เลยยืนคุยนานพอสมควร
เขาเป็นครูสอนศิลปะ อยู่โรงเรียนสามเสน 2 ครับ
"ผมเอาเรื่องของพี่ไปอ่านให้เด็กนักเรียนฟังเป็นประจำเลย"
"แล้วนักเรียนจะรู้เรื่องเหรอ" ผมไม่มั่นใจ
"นักเรียนชอบมากเลยครับ ทุกครั้งที่ได้ฟังตาเขาจะเป็นประกายเลย"
สงสัยจะเป็นประกายเพราะไม่ต้องเรียน...ผมคิดในใจ
"แปลกดี สอนศิลปะแต่ทำไมชอบนำเรื่องแบบนี้ไปเล่าให้นักเรียนฟัง"
เขาบอกว่าส่วนใหญ่ครูทั่วไปมักจะสอนเนื้อหาในตำรา และเด็กแต่ละคนก็เรียนกวดวิชากันมากมายเพื่อการสอบแข่งขัน แต่เขาต้องการให้เด็กได้มุมมองที่หลากหลายได้รู้จักโลกกว้าง
"ครูคนอื่นสอนหนังสือ แต่ผมสอนนักเรียนครับ"
โหย...เจอประโยคนี้เข้าแทบก้มหัวคารวะเลย
"เป้าหมาย" ที่แตกต่าง จะนำมาซึ่ง "วิธี" ที่แตกต่าง
บางคนพยายามสอนแต่เนื้อหาในหนังสือเพราะมีเป้าหมายคือการสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนดีๆ หรือมหาวิทยาลัยดังๆ
"เป้าหมาย" ของเขาคือตัวอักษรในหนังสือ
ทำอย่างไรจะอัดเข้าสมองนักเรียนให้มากที่สุด
แต่ที่เขาลืมไปก็คือการสอนนักเรียนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ
มีมุมมองที่หลากหลาย รู้จักโลกในหลายแง่มุม
ผมนึกถึงคำของ "หมอประเวศ วะสี" ที่พูดถึงหมอด้วยกันว่า หมอส่วนใหญ่มักจะรักษา "โรค"
แต่ไม่ได้รักษา "คนไข้"
ลืมความรู้ึกของคนไข้ว่าเขากลัว เขาเจ็บ เขารู้สึกอย่างไร
คิดอย่างเดียวว่าจะรักษา "โรค" ให้หาย
จนลืมไปว่า "คนไข้" เป็น "คน" ที่มีความรู้สึก
"นักเรียน" ก็เหมือน "คนไข้"
มีชีวิต และความรู้สึก
มีโลกที่กว้างใหญ่กว่าประตูรั้วมหาวิทยาลัยดังๆ
หลังจากนั้นไม่กี่วันผมก็ได้คุยกับ "บินหลา สันกาลาคีรี" นักเขียนซีไรท์
เขาเพิ่งกลับจากรัสเซียมาครับ
"บินหลา" ใช้เวลา 1 เดือนนั่งรถไฟจากจีนไปรัสเซีย
อย่าแปลกใจที่ "บินหลา" จะใช้เวลานานกว่าคนทั่วไป
เขาเป็น "คนใจง่าย" ครับ เจอเมืองไหนน่ารักก็แวะพักนานหน่อย เช่น ผ่านมองโกเลียแล้วชอบใจก็แวะเที่ยว 8 วัน เป็นต้น
ช่างเป็นชีวิตที่น่าอิจฉาจริงๆ
ผมเล่าเรื่องครูคนนี้ให้ "บินหลา" ฟัง เขาพยักหน้าเห็นด้วย
"บินหลา" บอกว่าเคยมีคนถามเขาว่าการไปเที่ยวคนเดียวมีข้อดีอย่างไร
เขาตอบว่าการไปเที่ยวคนเดียว สิ่งที่ได้แน่ๆ ก็คือได้ตัดสินใจเอง
"คุณจะได้ตัดสินใจแทบทุกช่วงเวลาของการเดินทาง"
ครับ การไปเที่ยวคนเดียว ต้องเผชิญกับสถานการณ์แปลกๆ ที่เราคาดการณ์ไม่ได้ในสถานที่ที่เราไม่คุ้นเคย
แทบทุกช่วงเวลา คุณจะต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง
ไม่ว่าผิดหรือถูก คุณก็ต้องรับผิดชอบกับ สิ่งที่คุณตัดสินใจไป
ในโลกแห่งความเป็นจริง การตัดสินใจหรือการใช้ดุลพินิจของตัวเองว่าจะเลือกเดินทางไหนเป็นเรื่องสำคัญมาก
ชีวิตไม่ใช่ข้อสอบปรนัย ที่มีคนกำหนดทางเลือก ก-ข-ค-ง ให้กากบาท
และไม่มีครูคอยเฉลยข้อสอบด้วยว่าสิ่งที่คุณเลือกถูกหรือผิด
ที่สำคัญ ชีวิตผ่านแล้วผ่านเลย
เลือกแล้วเลือกเลย
จะขอหมุนเวลากลับมาแก้ไขใหม่ไม่ได้
"ดุลพินิจ" และ "การตัดสินใจ" จึงเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับชีวิต
คนเก่ง คือ คนที่ตัดสินใจถูกมากกว่าผิด
ต้องทำบ่อยๆ ทำเป็นประจำ และรู้จักสรุปบทเรียนทุกครั้งที่ตัดสินใจ
เพื่อให้การเลือกครั้งต่อไปไม่ผิดพลาด
ที่สำคัญการตัดสินใจที่ดีจะต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง
ห้ามเลือกแบบคนเจ้าชู้
ข้อ จ.
... ถูกทุกข้อ